ลูกที่พ่อแม่รวยมีโอกาสครอบครองบ้าน มากกว่าลูกที่พ่อแม่รายได้น้อย
ข้อเท็จจริงที่ The Resolution Foundation พบ หลังทำการสำรวจวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ในอังกฤษกับการซื้อที่อยู่อาศัย เพราะรายได้ของพวกเขาสวนทางกับราคาที่อยู่อาศัย ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะได้มาครอบครองโดยมีแค่กำลังของตัวเอง
ฝั่งไทยเอง สถานการณ์ราคาที่พักอาศัยก็ปรับสูงขึ้นในปีนี้ วสันต์ เคียงศิริ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร บอกว่า ต้นทุนในการก่อสร้างบ้าน คอนโด เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาที่อยู่อาศัยในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 – 10%
ขณะที่รายได้ต่อหัวของคนไทยนั้น จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ทำการสำรวจรายได้ของครอบครัวจำนวน 27,993 ครัวเรือนทั่วประเทศไทย ช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2564 พบว่า รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 28,454 บาทต่อครอบครัว ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายประมาณ 22,325 บาทต่อเดือน ทำให้สัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่อรายได้คิดเป็นประมาณ 78.5%
การมีบ้านสำหรับคนรุ่นใหม่ในไทยเองก็อาจไม่ได้ง่ายหากต้องซื้อ พวกเขาเองก็มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในชีวิต ทำให้บางคนเลือก ‘ผ่อน’ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับดอกเบี้ยที่ราคาสูงก็ตาม ซึ่งปีนี้อยู่ที่ประมาณ 6 – 7% แต่ก็เพื่อให้ได้มีที่อยู่อาศัยหรือมีทรัพย์สินเพื่อความมั่นคงในชีวิต
“ผมผ่านทั้งการซื้อและเช่า ก่อนหน้านี้มีคอนโดที่เล็กๆ ราคาล้านกว่า ผมผ่อนไปเรื่อยๆ จนมาดูวันที่เราจ่ายจบเป็นของเราเอง ดอกเบี้ยและต้นทุนรวมกันจาก 1.3 ล้าน เป็น 2.4 ล้าน แปลว่าคอนโดหลังนี้ไม่ใช่ราคาเริ่มต้นแล้ว มันถูกจ่ายให้เจ้าของคอนโดล้านสาม อีกล้านกว่าๆ กับธนาคาร นั่งคิดไปคิดมามันก็เป็นเงินที่เยอะเหมือนกัน”
ประสบการณ์ของขจร เจียรนัยพานิชย์ ผู้บริหารบริษัท The Zero Publishing ในการซื้อคอนโดหลังแรกที่เขาเองก็ใช้วิธีผ่อน แต่การต้องเสียค่าดอกเบี้ยที่มากกว่าราคาคอนโด หรือการจะย้ายที่อยู่เพื่อความสะดวกสบายกลายเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก ทำให้วันนี้เขาเปลี่ยนมาใช้โมเดล ‘เช่าที่อยู่อาศัย’ แทน

“การซื้อบ้านเป็นความมั่นคงไหม? อย่างที่บอกว่ามันจะมั่นคงต่อเมื่อเราเป็นเจ้าของจริงๆ แต่ถ้าวันที่เรายังต้องจ่ายเงินให้ธนาคาร ยังผ่อนบ้านไม่หมด แล้วเราถูก Lay – off รายได้หาย หรือมีปัญหาชีวิตสักอย่างแล้วต้องขายบ้าน มันก็คงไม่ใช่ความมั่นคงอยู่ดี”
“เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่ทรัพย์สินซะทีเดียว กึ่งๆ เป็นภาระด้วย ในการจะต้องมาขายหรือปล่อยให้เช่าต่อ… มุมมองเราก็เลยค่อนข้างเปลี่ยน พอจะเริ่มซื้อบ้านหลังใหม่หรือคอนโดใหม่ จริงๆ การเช่ามีประโยชน์หลายอย่าง พอเราเปลี่ยนมุมมองไม่ยึดติดว่า เฮ้ย ฉันต้องมีทรัพย์สินของตัวเอง เพราะฉันสามารถอยู่ด้วยการเช่าได้ มุมมองเปลี่ยนก็ทำให้เราวางแผนเกษียณ หรือวางแผนการใช้ชีวิตอีกแบบเลย”
แล้วมันก็เป็นไลฟ์สไตล์ที่คนรุ่นใหม่รอบตัวขจรหลายคนเลือก เพราะตอบโจทย์บริบทชีวิตด้านรายได้ ที่สำคัญลดภาระ ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้จำนวนมหาศาล หรือสามารถเปลี่ยนที่อยู่ได้เพื่อความสะดวกสบาย เช่น ย้ายที่อยู่ให้ใกล้ที่ทำงาน
นอกจากวิธีเลือกที่อยู่อาศัย การเช่าก็ลามไปยังสิ่งอื่นๆ ในชีวิต ในมุมขจรมองว่า คนรุ่นใหม่กลับมาให้ความสำคัญกับตัวเอง พวกเขาไม่ใช้ชีวิตตามค่านิยมเดิมที่ต้องทรัพย์สินใหญ่ๆ เป็นของตัวเองเพื่อให้ชีวิตมั่นคง แต่พวกเขาให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางใจที่เกิดขึ้นเสมอและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การเช่าจึงตอบโจทย์นี้
“ผมว่ามุมมองคนรุ่นใหม่ไม่มีคำว่า permanent หรือว่าความเป็นเจ้าของ ผมเจอน้องที่คบกับคนหนึ่ง ผมถามว่านี่แฟนหรือเปล่า เขาบอกไม่ใช่ คือคบกัน แต่ถ้าคนนี้จะไปมีคนใหม่เขาก็ไม่ติด หรือเขาจะไปมีคนใหม่อีกคนก็ไม่ติด เขาแฮปปี้กับความสัมพันธ์ที่ไม่ต้องเป็นเจ้าของกันและกัน เขารู้สึกว่าการมี permanent มันเป็นภาระ การมีแฟนก็ใช่ สำหรับคนรุ่นใหม่การมีแฟน คือ ความมั่นคงทางจิตใจ แค่มีใครสักคนเวลาที่เขาร้องไห้ เสียใจ มีคนปลอบใจ หรือเดินห้างมีใครสักคนจับมือด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าข้าวเจ้าของกัน”
เจเนอเรชันแห่งการเช่า
Generation Rent หรือเจเนอเรชันแห่งการเช่า เป็นคำเกิดใหม่ที่ใช้เรียกคนวัย 18 – 40 ปี ที่เลือกเช่าที่อยู่อาศัยมากกว่ามีเป็นของตัวเอง นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่า สาเหตุหลักที่ทำให้คนรุ่นใหม่เลือกไม่มีที่อยู่เป็นของตัวเองมาจากรายได้ ซึ่งสวนทางกับราคาที่อยู่อาศัยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โอกาสมีเป็นของตัวเองจึงยากขึ้นตามเช่นกัน
The Resolution Foundation ทำการสำรวจวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ในอังกฤษ พบว่า คนที่มาจากครอบครัวที่มีต้นทุนสูงมีแนวโน้มจะได้มีบ้านเป็นของตัวเอง เพราะพวกเขามีโอกาสได้เงินสนับสนุนจากครอบครัว (bank of mum and dad) และได้รับความมั่งคั่งที่ถ่ายทอดส่งต่อมา

ขณะเดียวกัน คนที่มาจากครอบครัวรายได้น้อย พวกเขาไม่สามารถพึ่งพาครอบครัวในเรื่องทางการเงินได้ หรือครอบครัวของเขาก็อาจเช่าที่อยู่อาศัยเหมือนกัน
ส่วนสถานการณ์ราคาที่พักอาศัยในไทย วสันต์ เคียงศิริ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร บอกว่า ต้นทุนในการก่อสร้างบ้าน คอนโด เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีแนวโน้มว่า ราคาที่อยู่อาศัยในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 – 10%
การเช่าทำให้เราไม่ต้องยึดติด
“ผมผ่านทั้งการซื้อและเช่า ก่อนหน้านี้มีคอนโดที่เล็กๆ ราคาล้านกว่า ผมผ่อนไปเรื่อยๆ จนมาดูวันที่เราจ่ายจบเป็นของเราเอง ดอกเบี้ยและต้นทุนรวมกันจาก 1.3 ล้าน เป็น 2.4 ล้าน แปลว่าคอนโดหลังนี้ไม่ใช่ราคาเริ่มต้นแล้ว มันถูกจ่ายให้เจ้าของคอนโดล้านสาม อีกล้านกว่าๆ กับธนาคาร นั่งคิดไปคิดมามันก็เป็นเงินที่เยอะเหมือนกัน”
ขจรในวัย 40 กว่าปี ย้อนชีวิตกลับไปช่วงที่อายุเลข 3 เขาอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง เพื่อแสดงความมั่นคงตามค่านิยมที่มีในตอนนั้น การมีบ้านหรือคอนโดเป็นของตัวเองอาจมีข้อดี ตรงที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง แต่บางครั้งมันอาจเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวเราให้ไปไหนยากขึ้น
“คอนโดผมอยู่นอกเมืองพอสมควร พอตัดสินใจจะมาอยู่ในเมือง จังหวะที่จะขายคอนโดนั้นก็ไม่ได้มีเราขายคนเดียว มีคนที่พร้อมขายอีกเป็นร้อยๆ เจ้า แล้วผมพบว่าไม่สามารถขายคอนโดในราคา 2.4 ล้านได้ เพราะราคาขายมันอยู่ที่ 1.3 ล้าน
“เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่ทรัพย์สินซะทีเดียว กึ่งๆ เป็นภาระด้วย ในการจะต้องมาขายหรือปล่อยให้เช่าต่อ… มุมมองเราก็เลยค่อนข้างเปลี่ยน พอจะเริ่มซื้อบ้านหลังใหม่หรือคอนโดใหม่ แล้วผมมีญาติเป็นคนสิงค์โปร ที่นั่นจะไม่มีขายบ้านแบบ permanent ที่ดินแทบทุกที่จะเป็นการเช่าระยะยาวทั้งหมด เพราะประเทศเขาเล็กมาก ระยะเช่าสุดสูง คือ 99 ปี หลายคนจะซื้อสักประมาณ 30 – 40 ปี จริงๆ การเช่ามีประโยชน์หลายอย่าง พอเราเปลี่ยนมุมมองไม่ยึดติดว่า เฮ้ย ฉันต้องมีทรัพย์สินของตัวเอง เพราะฉันสามารถอยู่ด้วยการเช่าได้ มุมมองเปลี่ยนก็ทำให้เราวางแผนเกษียณ หรือวางแผนการใช้ชีวิตอีกแบบเลย”
ข้อดีของการเช่าที่ขจรรู้สึก คือ flexible ความยืดหยุ่นที่สามารถปรับเปลี่ยนที่พักได้ตามความต้องการ เช่น เลือกที่พักใกล้ที่ทำงาน หรือโรงเรียนของลูก เมื่อเดินทางน้อยลง ก็ทำให้ได้สิ่งสำคัญกลับมา นั่นคือเวลา
“สมัยก่อนไปส่งลูกที่โรงเรียน ต้องใช้เวลาประมาณ 40 นาทีในการไปส่ง และไปรับอีก 40 นาที ลูกเรายังเป็นเด็กอนุบาลเอง เราสงสารลูกที่ต้องอยู่บนรถนานๆ ตอนย้ายที่อยู่มาเช่าเราคิดแค่ข้อเดียว คือ ทำยังไงให้ไปส่งลูกให้ได้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะใกล้ได้ สุดท้ายได้ที่พักใหม่ที่สามารถเดินไปส่งลูกได้ภายใน 10 นาที มันก็ทำให้เวลาที่ผมเคยหายไปจากการไปรับส่งลูกย้อนกลับมา ทำให้ลูกมีเวลาเล่น มีเวลาดูการ์ตูน
“เวลาที่เพิ่มขึ้นมาคนอาจจะมองว่า ไม่สามารถไปแลกเป็นเงินได้ ไม่ได้ไปเพิ่มรายได้ แต่มันเพิ่มชีวิตที่กลับมาสูงมากๆ พอลูกโตขึ้นถ้าจะย้ายโรงเรียน ผมก็สามารถย้ายที่อยู่ตามไปได้ แต่ถ้าเรามีมุมมองที่ต้องซื้อบ้านหรือคอนโดอยู่ จะย้ายโรงเรียนย้ายที่ทำงานทีหนึ่ง ยอมจะอยู่บ้านเดิม อาศัยเดินทางไกลๆ เอา เพื่อเหตุผลเดียวเพราะเรามีบ้านอยู่ พอเปลี่ยนมุมมองความคิดมันทำให้สะดวกขึ้น”

ซึ่งไลฟ์สไตล์แบบนี้บางคนอาจจะมองว่ามีความเสี่ยง เพราะต้องมีรายได้ทุกเดือนเพื่อจ่ายค่าที่พัก หรือต้องทำงานไปเรื่อยแม้แต่ตอนที่อายุมากแล้วเพื่อให้มียังมีเงิน สำหรับขจรคิดว่าทุกคนมีวิธีออกแบบชีวิตตามที่ต้องการ เขาเองก็ไม่ได้วางแผนจะเช่าที่อยู่ไปตลอดชีวิต ขจรออกแบบชีวิตวัยเกษียณว่าจะซื้อบ้านสักหลัง ถึงตอนนั้นเขาอาจไม่ต้องการที่พักในย่านแพงๆ ต้องการที่พักที่มันตอบโจทย์ชีวิตช่วงนั้น ก็อาจทำให้ราคาที่พักถูกลง
“การจะมีบ้านหรือไม่มีบ้าน สำหรับผมไม่ใช่ความมั่นคงเลย ถ้ามันยังไม่ใช่ของเรา 100% ในมุมกลับกัน ถ้าเราเลือกเช่าไปเรื่อยๆ แต่เรามีเงินเก็บที่ดีมากๆ แล้วเราสามารถเกษียณด้วยเงินเก็บที่สูงได้ สำหรับผมพอเราใช้โมเดลเช่าที่พัก ทำให้เป้าหมายเก็บเงินเกษียณมันน้อยลง ไม่กี่ปีก็จะถึงเป้าที่ตั้งไว้แล้ว”
ความมั่นคงที่ไม่ได้วัดจากสิ่งที่เห็น แต่วัดจากความรู้สึกของตัวเราเอง
ขจรเคยเขียนเรื่องที่เขาใช้โมเดลเช่าที่อยู่อาศัยลงในเฟซบุ๊คส่วนตัว ซึ่งมีคนเข้ามาให้ความเห็นหลากหลาย มีทั้งที่เข้าใจและไม่เห็นด้วย คนที่เห็นด้วยส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นใหม่วัย 25 – 27 ปี ขจรคิดว่า ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปแล้วเหมือนกัน พวกเขาเองก็ชอบใช้ชีวิตด้วยบริการเช่า
“ผมว่ามุมมองคนรุ่นใหม่ไม่มีคำว่า permanent หรือว่าความเป็นเจ้าของ ผมเจอน้องที่คบกับคนหนึ่ง ผมถามว่านี่แฟนหรือเปล่า เขาบอกไม่ใช่ คือคบกัน แต่ถ้าคนนี้จะไปมีคนใหม่เขาก็ไม่ติด หรือเขาจะไปมีคนใหม่อีกคนก็ไม่ติด เขาแฮปปี้กับความสัมพันธ์ที่ไม่ต้องเป็นเจ้าของกันและกัน เขารู้สึกว่าการมี permanent มันเป็นภาระ การมีแฟนก็ใช่ สำหรับคนรุ่นใหม่การมีแฟน คือ ความมั่นคงทางจิตใจ แค่มีใครสักคนเวลาที่เขาร้องไห้ เสียใจ มีคนปลอบใจ หรือเดินห้างมีใครสักคนจับมือด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าข้าวเจ้าของกัน”
ความมั่นคงสำหรับคนรุ่นใหม่ในเวลานี้ อาจแปลว่าความมั่นคงทาง ‘จิตใจ’ ไม่ต้องครอบครองสิ่งใดเพื่อให้รู้สึกถึงความมั่นคง แค่ใช้บริการเช่าสิ่งๆ นั้น แล้วมันตอบโจทย์ชีวิตก็เพียงพอแล้ว
“คนรุ่นใหม่เกิดมาพร้อมกับโลกที่มันเช่าได้หมด ไม่ว่าจะเป็นเช่ารถไปเที่ยว เช่าโทรศัพท์ไปดูคอนเสิร์ต ผมมีน้องคนหนึ่งที่มี PlayStation 5 ไม่ซื้อแต่เช่าเอา เพราะเขารู้สึกว่าเล่น 7 – 8 เดือนก็คงเบื่อละ แล้วมันมีเซอร์วิสต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อ ถ้าเป็นคนรุ่นก่อนอาจจะมองว่าฉาบฉวย แต่คนรุ่นนี้รู้สึกว่ามันเป็นการตอบโจทย์ชีวิต เพราะฉันก็ไม่ได้อยากมี PlayStation 5 อยู่ที่บ้านไปตลอด”

แต่วิถีชีวิตแบบนี้ก็ถูกบางคนมองว่า ฉาบฉวย หรือไม่มั่นคง เพราะพวกเขายังเคยชินกับความมั่นคงที่จับต้องได้ในรูปแบบของบ้าน ทรัพย์สินต่างๆ
“ความมั่นคงในภาษาอังกฤษ คือ Security ความปลอดภัย ถ้าเรามีเงินฝากในบัญชี 1 ล้านบาท เราก็อาจรู้สึกถึงความมั่นคง หรือถ้าเรามีรายจ่ายที่น้อยกว่ารายรับมากๆ อันนี้ก็เป็นความมั่นคงของบางคนได้เหมือนกัน หรือมีงานที่ไม่น่าจะถูก Lay – off ใน 10 ปีนี้แน่ๆ
“การซื้อบ้านเป็นความมั่นคงไหม? อย่างที่บอกว่ามันจะมั่นคงต่อเมื่อเราเป็นเจ้าของจริงๆ แต่ถ้าวันที่เรายังต้องจ่ายเงินให้ธนาคาร ยังผ่อนบ้านไม่หมด แล้วเราถูก Lay – off รายได้หาย หรือมีปัญหาชีวิตสักอย่างแล้วต้องขายบ้าน มันก็คงไม่ใช่ความมั่นคงอยู่ดี
การใช้ชีวิตในตอนนี้อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายคน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง หลายคนจึงเลือกใช้ชีวิตให้สบายที่สุด เริ่มจากมีภาระให้น้อย วางเป้าหมายว่าใช้ชีวิตที่ทำให้ตัวเองมีความสุข ซึ่งคำว่า ‘ภาระ’ ในคนรุ่นใหม่ ขจรมองว่าความหมายมันขยายขึ้น ไม่ใช่สิ่งของราคาแพง แต่การมีครอบครัว หรือมีลูกก็ถือว่าเป็นภาระอย่างหนึ่งได้
“แต่ว่าการไม่มีภาระกับไม่มีความมั่นคงมันแตกต่างกันนะ การที่ฉันไม่มีลูกไม่ได้หมายความว่าฉันไม่มั่นคง หรือการไม่มีบ้านไม่ได้แปลว่าไม่มั่นคง ถ้ามีเงินเก็บ มีกองทุน แล้วฉันรู้สึกว่าฉันมีความมั่นคงแล้ว นั่นก็ถูกต้อง ผมมีเพื่อนคนหนึ่งที่มีบ้าน แต่หนี้สินล้นพ้น ผมรู้สึกว่านี่เป็นภาระมากกว่า แทนที่จะเป็นความมั่นคง
“เท่าที่ผมสัมผัสคนรุ่นใหม่บางคนนะ เขามองว่าไม่จำเป็นต้องมีอะไรที่เป็นตัวตายตัวแทน หรือฉันต้องอยู่กับสิ่งนี้ไปตลอดชีวิต เขาอยากใช้ชีวิตในแบบที่อยากเป็น เติมเต็มในสิ่งที่ต้องการ ณ ช่วงนั้นๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่มีความมั่นคงนะ บางคนมีเงินเก็บสูงมาก มีเงินในกองทุนเยอะมากเลย เขาซื้อความมั่นคงในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นเดิมเชื่อว่ามันเป็นความมั่งคง”
คนเช่ามีจำนวนมากขึ้น
เมื่อก่อนเราอาจต้องมีเงินมากเพื่อให้ได้ของบางอย่างมาครอบครอง แต่ ณ วันนี้บริการการเช่าก็ทำให้เราสามารถสัมผัสสิ่งเหล่านั้นได้ แม้จะเช่าคราว เช่น เช่ารถสปอร์ตขับ หรือเช่าคอนโดหลัก 10 ล้านอยู่

“การเช่ามันทำให้ไลฟ์สไตล์คนใกล้กันมากขึ้น เป็น Sharing Economy จะทำให้การใช้ชีวิตของคนเริ่มคล้ายกัน แต่ว่าคงจะลดความเหลื่อมล้ำไม่ได้ เช่น การเช่าคอนโดราคา 20 – 30 ล้าน ก็ยังเป็นคนที่มีรายได้สูงเข้าถึงได้อยู่ดี
“แต่ถ้าแนวคิดนี้มันเริ่มไปไกลเรื่อยๆ เราอาจจะเจอเซอร์วิสหรือบริการที่ตอบโจทย์ทุกชนชั้นไปพร้อมๆ กัน เช่น เช่ารถยนต์ เพราะค่าใช้จ่ายมันถูกลงคนหลายกลุ่มสามารถเข้าถึงได้” ขจรทิ้งท้าย
ใช้ชีวิตด้วยการเช่า อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน เพราะทางเลือกที่ดี คือ การที่เราได้เลือกชีวิตในแบบที่ต้องการ หากอยากซื้อบ้านก็ไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด หรืออยากเช่าที่อยู่อาศัยไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแย่ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราเลือกด้วยตัวเอง